10 ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า

ในช่วงนี้มักเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่เกิด และอาจเกิดเหตุฟ้าผ่าขึ้นมาด้วย ซึ่งหากเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบถึงชีวิตและทรัพย์สินได้ ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยจึงได้แนะนำวิธีปฏิบัติปลอดภัยจากฟ้าผ่า…ช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

รณีอยู่ในที่โล่งแจ้ง

– ห้ามเข้าไปหลบพายุฝนใกล้บริเวณอันตราย อาทิ ต้นไม้ใหญ่ เสาไฟฟ้าแรงสูง ป้ายโฆษณาหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีส่วนประกอบหลักเป็นโลหะ หรือเข้าใกล้แหล่งน้ำ เนื่องจากน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า

– ไม่ประกอบกิจกรรมและอยู่บริเวณกลางแจ้ง อาทิ เล่นกีฬา สระน้ำ ชายหาด สนามกอล์ฟ ทำการเกษตร ทุ่งนา และ อยู่ใกล้รางรถไฟ เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า

– หลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับ ประเภทเงิน ทอง นาก ทองแดง หรือกางร่มที่มียอดเป็นโลหะ เนื่องจากเป็นสื่อนำไฟฟ้า

– ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากมีวัสดุประเภทโลหะเป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิด

การเหนี่ยวนำคลื่นไฟฟ้า อาจทำให้แบตเตอรี่ลัดวงจรและระเบิดได้

– กรณีที่ไม่สามารถเข้าไปหลบในอาคารได้ ให้หมอบนั่งยอง ๆ ให้ตัวอยู่ต่ำที่สุด โดยแนบมือทั้งสองข้างติดกับเข่า

แล้วซุกศีรษะเข้าไประหว่างเข่า ส่วนเท้าให้ชิดกันหรือเขย่งปลายเท้า เพื่อลดพื้นที่สัมผัสกับพื้นให้น้อยที่สุด

กรณีอยู่ในบ้าน – อาคาร

– หลบในอาคารที่มีสายล่อฟ้า พร้อมปิดประตูและหน้าต่างให้มิดชิด ไม่อยู่บริเวณดาดฟ้า มุมตึก ระเบียงด้านนอกอาคาร เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงถูกฟ้าผ่า

– งดใช้เครื่องมือสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ถอดสายอากาศสายโทรศัพท์ สายโมเดม เพราะอาจมีกระแสไฟฟ้าวิ่งมาตามสายไฟ ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายและผู้ที่กำลังใช้งานอยู่ได้รับอันตราย

กรณีอยู่บนรถยนต์

– หลีกเลี่ยงการจอดรถใต้ต้นไม้ใหญ่หรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ โดยเฉพาะป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าแรงสูง เพราะ

จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า

– ปิดประตูและกระจกรถให้มิดชิด กรณีฟ้าผ่าลงมาบริเวณรอบรถห้ามออกจากรถอย่างเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้า

จะไหลไปตามผิวโลหะของตัวถังรถสู่พื้นดิน ดังนั้น ห้องโดยสารจึงเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสุด

– หากฟ้าผ่าบริเวณรอบรถ ให้อยู่ในรถอย่างน้อย 30 นาที ให้แน่ใจว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ จึงค่อยออกจากรถ

ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าและเพิ่มความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง