1 ม.ค. 63 เริ่มเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรม กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

เกษตรกรรายย่อยหรือเจ้าของบ้านพร้อมที่ดินหลังแรกที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี

ในปี พ.ศ. 2563 ภาครัฐได้แก่ สำนักงานเขตของ กทม. เมืองพัทยา,เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ฯลฯจะทำหน้าที่เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 แทนกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และภาษีบำรุงท้องที่พ.ศ.2508
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

1.ใครบ้างต้องเสียภาษี

 ผู้ที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
✅เป็นเจ้าของ มีชื่อในทะเบียนบ้านที่มีฐานภาษี(ราคาประเมิน)เกิน 50ล้านบาท
✅เป็นเจ้าของแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (บ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป)
✅ทำธุรกิจ เชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม
✅นิติบุคคลที่ทำเกษตร

2. ผู้ที่ปล่อยที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์

  • กฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ คือ

1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ทำการเกษตร
2. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย
3. ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากข้อ 1, 2 เช่น ใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือด้านอุตสาหกรรม
4.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์

✅✅ อัตราภาษีใหม่จะเริ่มใช้ ในปี พ.ศ.2563
⚡️หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีตามที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้มาชำระภาษีในช่วงเวลาที่กำหนด
แต่เนื่องจากการเริ่มต้นดำเนินการใน 2 ปีแรกอาจจะกระทบต่อการปรับตัวหรือภาระการชำระภาษีของผู้ที่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์นี้ จึงมีการกำหนดบทเฉพาะกาลในการจัดเก็บภาษีช่วง 2 ปีแรก พ.ศ.(2563-2564)ในอัตรา ดังนี้

1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม กรณีเป็นนิติบุคคล

✅หากมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 75 ล้านบาท เก็บภาษี 0.01 เปอร์เซ็นต์,
✅เกิน 75-100 ล้านบาท เก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์,
✅เกิน 100-500 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์,
✅เกิน 500-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.07 เปอร์เซ็นต์
✅เกิน 1,000 ล้านบาท เก็บ 0.1 เปอร์เซ็นต์

2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน
✅หากมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่เก็บภาษี

2.1 หากมูลค่าฐานภาษีเกิน 50 -75ล้านบาท เก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์

2.2 หากมูลค่าฐานภาษีเกิน 75 – 100 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์

2.3 หากเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.1 เปอร์เซ็นต์
ตามข้อ 2.1 – 2.3
ให้นำฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทมาหักออกก่อน เหลือส่วนต่างเท่าใด จึงนำส่วนต่างมาคิดภาษีในอัตราตามที่กำหนดไว้ข้างต้น

3  สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ผู้เช่าที่สร้างบ้านบนที่ดินของคนอื่น )
✅หากสิ่งปลูกสร้างมีฐานภาษีไม่เกิน 10 ล้านบาท ไม่เสียภาษี

3.1 หากฐานภาษี ไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.02 เปอร์เซ็นต์

3.2 หากเกิน 50 -75ล้านบาท เก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์

3.3 หากเกิน 75-100 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์

3.4 หากเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป เก็บ 0.1 เปอร์เซ็นต์

ตามข้อ 3.1 – 3.4 ให้นำฐานภาษีที่ได้รับยกเว้นจำนวน 10 ล้านบาทมาหักออกก่อน เหลือส่วนต่างเท่าใดจึงนำมาคิดภาษีตามอัตราข้างต้น

4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย กรณีอื่นนอกจากอยู่อาศัยตามข้อ 2 และ 3
เป็นบ้านหลังที่ 2 (ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน)มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.02 เปอร์เซ็นต์
✅หากเกิน 50-75 ล้านบาท เก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์
✅เกิน 75-100 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์
✅เกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.1 เปอร์เซ็นต์

5. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมและอยู่อาศัย
คือการใช้เพื่อเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม/อื่นๆ/
✅ไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.3 เปอร์เซ็นต์
✅เกิน 50-200 ล้านบาท เก็บ 0.4 เปอร์เซ็นต์
✅เกิน 200-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.5 เปอร์เซ็นต์
✅เกิน 1,000-5,000 ล้านบาท เก็บ 0.6 เปอร์เซ็นต์
✅เกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เก็บ 0.7 เปอร์เซ็นต์

6. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งรกร้างว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์
เก็บภาษี 0.3-0.7เปอร์เซ็นต์ ของราคาประเมิน ใน2 ปีแรก
ถ้าปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า/ยังไม่ใช้ประโยชน์จากที่ดินติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี จะคิดเพิ่มขึ้นอีกจากอัตราที่เก็บจริง 0.3 เปอร์เซ็นต์
และคิดเพิ่มทุกทุก 3 ปี ต่อเนื่อง แต่ไม่เกิน 3% จนกว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน

หากมีการใช้ประโยชน์ก็จะปรับเป็นอัตราใหม่ตามประเภทการใช้ที่ดิน

 เพื่อบรรเทาภาระภาษี ตามอัตราข้างต้นใน 3 ปีแรก จึงมีหลักเกณฑ์ ช่วยเหลือเบื้องต้นดังนี้
หากคำนวณอัตราภาษีที่กำหนดไว้ ว่าต้องจ่ายในปี 2563-2565 แล้วพบว่าสูงกว่าเดิมที่เคยเสีย(ในภาษีโรงเรือนและที่ดินเดิม หรือภาษีบำรุงท้องที่ในช่วงก่อนหน้านี้) ได้กำหนดให้ 3 ปีแรกให้จ่ายเพิ่มจากเดิมเพียง

  • ร้อยละ 25 ในปีที่1
  • ร้อยละ 50 ในปีที่ 2
  • ร้อยละ 75 ในปีที่ 3

ตัวอย่าง
นาย ก. เคยเสียภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ปีละ 100 บาท แต่เมื่อใช้ฐานคำนวณภาษีตามอัตราใหม่ในปี 2563 พบว่าต้องเสียภาษีตามอัตราใหม่จำนวนเงิน 200 บาท
✅ให้นำส่วนต่างคือ100 บาทมาคำนวณ ดังนั้น นาย ก. จะจ่ายภาษีในปี 63 จำนวน125 บาท ในปี 64 จ่ายภาษี 150 บาท
ปี 65 จ่าย 175 และปี 66 จ่าย 200 บาท

✅✅ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบุคคลธรรมดาที่ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม ใน 3 ปีแรก ไม่ต้องเสียภาษี

ราคาประเมินที่ใช้เป็นฐานภาษีถูกกำหนดโดยกรมธนารักษ์ ซึ่งราคาประเมินในปัจจุบันกำหนดใช้ถึงสิ้นปี 2563 และจะอัพเดททุกๆ 4 ปี ดังนั้นในปี 2564 – 2567 จะใช้ตามราคาประเมินใหม่
✅✅ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.62 กระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศขยายเวลาดำเนินการของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานออกไปอีก 4 เดือน จึงทำให้การชำระภาษีซึ่งเดิมกำหนดไว้ในเดือนเมษายน 63 ขยับออกไปเป็นเดือนสิงหาคม63

 นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินตามกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมที่จะต้องเริ่มเก็บในเดือน เม.ย.2563 เป็นเดือนส.ค.2563 นั้น

เนื่องจาก กระบวนการสำรวจและประเมินทรัพย์สินทั้งที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ในบางส่วนยังไม่พร้อม

 กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลอปท.ทั่วประเทศ จึงขอให้เลื่อนระยะเวลาการจัดเก็บภาษีดังกล่าวออกไป

 นายลวรณ กล่าวว่า กฎหมายยังมีผลบังคับใช้ตามกำหนดเดิม คือ ต้นปี 2563 แต่ช่วงระยะเวลาที่ผู้เสียภาษีตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งปกติจะต้องเริ่มเข้ามาชำระในเดือนเม.ย.ของทุกปี จะต้องถูกเลื่อนระยะเวลาออกไปประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีเวลาในการเตรียมตัวสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินก่อนที่จะแจ้งไปยังผู้ถือครองทรัพย์สินให้มาชำระภาษี

✅✅ สำหรับกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งหมด 19 ฉบับ ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดดำเนินการแล้วเสร็จ โดยในจำนวน 19 ฉบับนั้น เป็นกฎหมายลูกที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลังมีจำนวน 8 ฉบับ ขณะนี้ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปจำนวน 8 ฉบับ ยังเหลืออีก 1 ฉบับ ซึ่งยังไม่จำเป็นต้องออกในขณะนี้

✅✅ ส่วนกฎหมายลูกอีก 11 ฉบับนั้น เป็นกฎหมายที่กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบจำนวน 6 ฉบับ ขณะนี้ ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 2 ฉบับ อีก 4 ฉบับเพิ่งจะผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ส่วนอีก 5 ฉบับ เป็นกฎหมายที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังจะต้องร่วมกันดูแล โดย 4 ฉบับ กระทรวงการคลังได้ลงนามไปเรียบร้อยแล้ว เหลืออีก 1 ฉบับยังไม่แล้วเสร็จ โดยกระทรวงมหาดไทยขอเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพื้นที่ทางการเกษตร

แม้ว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินจะถูกเลื่อนออกไปอีก 4 เดือน แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลแต่อย่างใด เพราะการชำระภาษีดังกล่าวยังคงเกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งเป็นการชำระเพียง 1 ครั้งต่อปีเท่านั้น

✅✅ ทั้งนี้ ในปีแรกของการจัดเก็บภาษีประเมินว่า จะมียอดจัดเก็บประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งเป็นกฎหมายเดิมประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

✅✅ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังยังได้จัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  •  สรุปสาระสำคัญของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

https://bit.ly/2E2JKIR

 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  •  พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

https://bit.ly/36csgWB

  •  กฎหมายลำดับรองของพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ยกเว้นภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของมูลนิธิหรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
 https://bit.ly/2sY9x2T

  •  ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

https://bit.ly/2PjZe0w

  •  ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาทรัพย์สินของเอกชน เฉพาะส่วนที่ได้ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์

https://bit.ly/33W9IZn

  • กฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒

https://bit.ly/38dRfuJ

  • ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒

https://bit.ly/2DT6vPF

  •  ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒

https://bit.ly/2PmIe9X

คลิป การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 3 ตอน กดดูได้ที่นี่

  • ตอนที่ 1 ทำไมต้องจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  •  ตอนที่ 2 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจัดเก็บอย่างไร
  •  ตอนที่ 3 ผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องเตรียมตัวอย่างไร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
โทรศัพท์ 02-273-9020
โทรสาร 02-273-9168
 Email : itcenter@fpo.go.th
 www.fpo.go.th
 www.treasury.go.th
 www.dla.go.th
www.dol.go.th

  • ภาพและข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง