พัฒนาแหล่งปลูกสมุนไพรในพื้นที่เขตอนุรักษ์ คาดจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 100,000 ล้านบาท

นายแพทย์เทวัญ ธานีรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความร่วมมือการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งปลูกสมุนไพรในพื้นที่เขตอนุรักษ์เพื่อนำมาใช้ในระบบสุขภาพและเศรษฐกิจและการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพแบบองค์รวม (Wellness) ว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่าร้อยละ 70 สมุนไพรออกมาจากป่า ส่วนที่ปลูกได้มีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดไม่สามารถปลูกได้ เช่น เถาวัลย์เปรียง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยและมีความเป็นยาสูง ทำให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับกรมป่าไม้ ,กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อศึกษา วิจัย อนุรักษ์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์สมุนไพรสายพันธุ์ดั้งเดิม อย่างในพื้นที่ป่าชายเลน เช่น เหงือกปลาหมอ ,ม้าน้ำที่จะมีการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ปรุงยา ในการพัฒนาการปลูกสมุนไพรในเขตพื้นที่ป่าและการเก็บเกี่ยวเพื่อการปรุงยา ผลิตยา เวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้มาตรฐาน เพื่อต่อยอดทางเศรษฐกิจโดยไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศและสร้างความมั่นคงทางยาให้ประเทศ

คาดการณ์จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจประเทศได้ประมาณ 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2572 ควบคู่กับสอนประชาชนที่อาศัยรอบเขตป่าและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนมาช่วยกันดูแลสมุนไพร ซึ่งกรมการแพทย์แผนไทยฯ จะเป็นตัวกลางประสานชุมชนและผู้ประกอบการ SME ส่วนรายได้จะนำไปใช้บำรุงป่าด้วยการปลูกทดแทนที่เก็บเกี่ยวออกมาใช้ รวมถึงพัฒนายกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสุขภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาแนวปฏิบัติทางการเกษตรและการเก็บรวบรวมที่ดีสำหรับการจัดการสมุนไพรในพื้นที่ (GACP)

รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ย้ำว่า ประชาชนในพื้นที่รอบเขตป่าจะมีงานทำ สร้างรายได้ และผลตอบแทนกลับไปใช้บำรุงรักษาป่าด้วย แล้วโรงงาน SME ทั่วประเทศที่ผลิตยาสมุนไพรจะมีวัตถุดิบเพื่อผลิตส่งออกให้กับประชาชนภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง