ปชช. ชื่นชม 30 บาทรักษาทุกที่ นโยบายนายกฯ ครอบคลุม 42 อาการสะดวกทั่วไทย

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล ครบ 6 เดือน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในทุกจังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนพึงพอใจนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ของรัฐบาลมากที่สุดถึงร้อยละ 71.6

ปัจจุบันโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว โดยได้เพิ่มทางเลือกใหม่สุขภาพดีเริ่มที่ใกล้บ้าน เพียงใช้บัตรประชาชนก็สามารถเข้ารับบริการ สะดวกไม่ต้องรอคิว ลดความแออัดในโรงพยาบาล และยังสามารถเข้ารับการรักษาตามเวลาที่สะดวกได้ที่ร้านยาและคลินิกเอกชนที่เข้าร่วม โดยไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลซึ่งสามารถครอบคลุมการดูแล อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยซึ่งเป็นอาการที่สามารถรักษาได้ในหน่วยบริการระดับทั่วไปได้ทุกแห่ง อาทิ คลินิกชุมชนอบอุ่น หรือศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รพ.รัฐประจำอำเภอและจังหวัด รวมทั้ง ร้านยาและคลินิกเอกชนที่เข้าร่วม “30 บาทรักษาทุกที่” อาทิ คลินิกหมอ คลินิกหมอฟัน คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกเทคนิคการแพทย์ (ตรวจแล็บ-เจาะเลือด)

ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จะครอบคลุมอุบัติเหตุ ที่ไม่ถึงขั้นวิกฤต สามารถรับบริการได้ในโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งหรือโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรณีวิกฤตถึงชีวิต อาทิ หมดสติหายใจไม่ออก เจ็บหน้าอกรุนแรง สามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่ใกล้ที่สุด สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) เป็นสิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

ชสปสช. ได้เพิ่มช่องทางการยืนยันตัวตนและใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านแอปพลิเคชัน  “ทางรัฐ” ในการเป็นช่องทางอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ “30 บาทรักษาทุกที่”โดยประชาชนสามารถยืนยันการใช้สิทธิบัตรทองแทนบัตรประชาชนในการเข้ารับบริการผ่านแอปฯ “ทางรัฐ” โดยไม่จำเป็นต้องพกบัตรประชาชนมาเพื่อขอใช้สิทธิและขอรับบริการ และสามารถตรวจสอบข้อมูลสุขภาพย้อนหลังได้ ที่สำคัญยังมีความปลอดภัยทางข้อมูลเพราะผู้ที่จะเข้าถึงข้อมูลจะจำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลเท่านั้น

ทั้งนี้ 6 รูปแบบใหม่ของบริการ “30 บาทรักษาทุกที่”  ผ่านแอปฯ “ทางรัฐ” ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงการรับบริการสุขภาพแบบสะดวกรวดเร็วและมีขั้นตอนง่ายๆ ได้แก่  

1. สามารถดูผลตรวจจาก Health Link

2. การใช้สิทธิเข้ารับการรักษาได้ โดยไม่ต้องใช้บัตรประชาชน (เพียงสแกน QR Code) ณ สถานพยาบาลที่มีสัญลักษณ์ “30 บาทรักษาทุกที่” ก็สามารถเข้ารับสิทธิรักษาพยาบาลได้ทันที มีการเก็บประวัติการเข้ารักษาเอาไว้บนแอปฯ อีกด้วย

3. เปลี่ยนหน่วยบริการ (สถานพยาบาลประจำ) เพื่อเข้ารับการบริการได้ด้วยตนเอง

4. ค้นหาหน่วยบริการ พิกัดร้านยาและคลินิกในโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ ในสถานที่ใกล้เคียงของผู้ใช้ได้ทันที

5. ยืนยันการใช้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกที่ ผ่านแอปฯ “ทางรัฐ” และไปรับยาได้ทันที 

6. เช็กข้อมูลกรมธรรม์สิทธิสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถไปเข้ารับบริการ จากสถานพยาบาลตามฐานข้อมูลของ สปสช. ได้ทันที

ทั้งนี้ประชาชนสามารถเข้าถึงหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้านได้ เพียงสังเกตสัญลักษณ์ “30 บาทรักษาทุกที่” และดูรายชื่อร้านยา คลินิกเอกชนที่เข้าร่วมได้ที่ https://mishos.nhso.go.th/nhso4/inno_nearby#                     

หรือผ่านแอปฯ “ทางรัฐ” จะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่ต้องการลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการรักษาเพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมทุกที่ทั่วประเทศไทย โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://www.nhso.go.th/news/4543   LINE ID @nhso หรือสายด่วน สปสช. 1330

สปสช. แนะขั้นตอนการใช้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกที่

ยังคงเข้ารักษาได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิประจำตัว พื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ต่างจังหวัด ได้แก่ รพ.สต. สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน รพ.รัฐประจำอำเภอหรือจังหวัด (สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

30 บาทรักษาทุกที่ เพิ่มทางเลือกใหม่ ไม่ว่าสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)     จะอยู่ที่ไหน ก็ใช้บริการได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ใช้แค่บัตรประชาชน

ร้านยาและคลินิกเอกชน (ที่เข้าร่วม 30 บาทรักษาทุกที่)

•  ร้านยาคุณภาพ ดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ ปรึกษาเภสัชกรและรับยาตามอาการ

•  คลินิกหมอ (คลินิกเวชกรรม) เจ็บ ไข้ ไอ ปวด รับบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป แบบผู้ป่วยนอก

•  คลินิกหมอฟัน (คลินิกทันตกรรม) อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์ (ปีละ 3 ครั้ง)

•  คลินิกพยาบาล ทำแผล ล้างแผล ล้างตา ล้างจมูก เปลี่ยนสายให้อาหาร ฉีดยาตามแผนการรักษาของแพทย์ และตรวจรักษาโรคเบื้องต้น 32 กลุ่มอาการ

•  คลินิกกายภาพบำบัด ฟื้นฟูผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค (ในช่วง 6 เดือนแรกหลังพ้นวิกฤต) ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง สมองได้รับบาดเจ็บ ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ กระดูกสะโพกหัก

•  คลินิกแพทย์แผนไทย นวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ 4 กลุ่ม ได้แก่  โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต โรคสันนิบาต และฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด

•  คลินิกเทคนิคการแพทย์ ตรวจแล็บ-เจาะเลือด 22 รายการตามใบแพทย์สั่งตรวจจากโรงพยาบาลที่ให้การรักษา เช่น ตรวจความเข้มข้นและความผิดปกติของเม็ดเลือด ตรวจระดับไขมัน/น้ำตาล ตรวจการทำงานของตับ ไต เป็นต้น

กรณีอาการเจ็บป่วยมากต้องทำอย่างไร

ผู้ป่วยกลับไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำของตนเอง กรณีเกินศักยภาพจะส่งต่อไปโรงพยาบาลประจำตามสิทธิหรือในเครือข่าย

เจ็บป่วยฉุกเฉิน เข้ารับบริการได้ที่ไหน

ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ถึงขั้นวิกฤต เข้ารักษาได้ที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่ง และโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมกับ สปสช. ยื่นบัตรประชาชน แจ้งใช้สิทธิฉุกเฉิน

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตถึงแก่ชีวิต (เช่น หมดสติ, หายใจไม่ออก, เจ็บหน้าอกรุนแรง) เข้ารักษาได้ที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่ใกล้ที่สุด ยื่นบัตรประชาชน แจ้งใช้สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่

หมายเหตุ โรงพยาบาลรัฐสังกัดอื่น เช่น กรุงเทพมหานคร กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มหาวิทยาลัย เป็นโรงพยาบาลสำหรับรับส่งต่อผู้ป่วย ต้องใช้ใบส่งตัว

นวัตกรรม 30 บาทรักษาทุกที่

1. ตู้ห่วงใยหาหมอออนไลน์ ตั้งในชุมชน/ห้างสรรพสินค้า และรอรับจัดส่งยาถึงบ้าน

2. หาหมอออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันสุขภาพ ทำตามขั้นตอนจะได้ปรึกษาแพทย์ตามอาการ และรอรับยาจัดส่งถึงบ้าน กับ 3 แอปพลิเคชันสุขภาพ ได้แก่

1) แอปพลิเคชัน Clicknic (คลิกนิก) โดยคลิกนิกเฮลท์คลินิกเวชกรรม สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี @clicknic

2) แอปพลิเคชัน Mordee (หมอดี) โดยชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี @mordeeapp

3) แอปพลิเคชัน Saluber MD (ซาลูเบอร์ เอ็ม ดี) โดยสุขสบายคลินิกเวชกรรม สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี @smdthailand

3. รถทันตกรรมเคลื่อนที่ ดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น คนพิการ ผู้ต้องขัง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ชุมชนแออัด หรือชุมชนในพื้นที่ห่างไกล

4. เจาะเลือดที่บ้านผู้ป่วยติดเตียง หากโรงพยาบาลตามสิทธิมีบริการเจาะเลือดที่บ้านให้ประสานกับโรงพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ป่วยและนัดหมายเจาะเลือดที่บ้าน หรือประสานคลินิกเทคนิคการแพทย์ที่เข้าร่วม 30 บาทรักษาทุกที่ให้มาเจาะเลือดที่บ้านได้

5. รถคลินิกเวชกรรมเคลื่อนที่ให้บริการในชุมชน

6. ห้องพยาบาลโรงเรียนมัธยม หาหมอออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันให้บริการที่ห้องพยาบาลในโรงเรียนพร้อมจัดส่งยาถึงโรงเรียน มีผู้ช่วยพยาบาลประจำที่โรงเรียนที่เข้าร่วม

7. หน่วยบริการเชิงรุก ในห้างสรรพสินค้า สถานประกอบการ โรงงาน เป็นต้น บริการตรวจสุขภาพฟรี ตามสิทธิประโยชน์ เช่น เจาะเลือด ตรวจแล็บ วัดความดันโลหิตสูง เจาะเลือดปลายนิ้ววัดเบาหวาน เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี/ซี

8. คลินิกพยาบาลและหาหมอออนไลน์ในปั๊มน้ำมันและสถานีรถไฟฟ้า ให้บริการพยาบาลเบื้องต้นและรักษา 32 โรค ร้านยาดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ หากเกินจะได้ปรึกษาแพทย์ผ่านระบบออนไลน์

9. เครื่องล้างไตอัตโนมัติ APD ล้างไตเหลือวันละ 1 ครั้ง ทำได้ขณะนอนหลับ ให้ยืมเครื่องไปใช้ที่บ้าน ไปรษณีย์ส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้าน

10. รถรับส่งผู้ป่วยติดเตียงไปโรงพยาบาล ประสานผ่านสายด่วน สปสช. 1330

เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ /กลุ่มโรค ปรึกษาร้านยาคุณภาพ คลินิกพยาบาล

1.เวียนศรีษะ                    

2.ปวดหัว

3.ปวดข้อ /ปวดกล้ามเนื้อ

4.ปวดฟัน

5.ปวดประจำเดือน

6.ปวดท้อง

7.ท้องเสีย

8.ท้องผูก/ริดสีดวงทวาร

9.ปัสสาวะแสบขัด

10.ตกขาว

11.แผล

12.ผื่นผิวหนัง

13.อาการทางตา

14.อาการทางหู

15.ไข้ ไอ เจ็บคอ

16.ติดเชื้อโควิด

17.น้ำมูก คัดจมูก

18.มีอาการแผลในปาก

19.ตุ่มน้ำใสที่ปาก

20.แผลน้ำร้อนลวกไม่รุนแรง

21.อาการคันผิวหนัง/ศรีษะ

22.อาการจากพยาธิ

23.อาการจากหิด เหา

24.ฝี หนองที่ผิวหนัง

25.อาการชา/เหน็บชา

26.อาการนอนไม่หลับ

27.เมารถ เมาเรือ

28.เบื่ออาหาร โดยไม่มีโรคร่วม

29.คลื่นไส้ อาเจียน

30.อาการแพ้ยา/แพ้อาหารเล็กน้อย/แมลงกัดต่อย

31.อาการเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่

32.เหงือกอักเสบ / มีกลิ่นปาก

บริการ “การแพทย์ทางไกล (Telemedicine)” พบแพทย์ผ่านระบบออนไลน์พร้อมจัดส่งยาถึงบ้าน ครอบคลุมเจ็บป่วยเล็กน้อย 42 อาการ ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว

1.อาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรียอื่นที่มิได้ระบุรายละเอียด

2.อาการท้องร่วง กระเพาะและลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อที่มิได้ระบุรายละเอียด

3.ตาแดงจากไวรัส

4.ตาแดงจากไวรัส ที่มิได้ระบุรายละเอียด

5.การติดเชื้อไวรัสไม่ระบุตำแหน่งที่เป็น

6.การติดเชื้อไวรัส ที่มิได้ระบุรายละเอียด

7.โรคตากุ้งยิง และตุ่มอักเสบเรื้อรังที่หนังตา

8.การอักเสบของเยื่อบุตา

9.เยื่อบุตาอักเสบเฉียบพลัน ที่มิได้ระบุรายละเอียด

10.ความผิดปกติของระบบการทรงตัวของหู

11.เวียนศรีษะบ้านหมุนเฉียบพลันแบบไม่รุนแรง

12.เยื่อบุจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (หวัดธรรมดา)

13.ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน

14 ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ที่มิได้ระบุรายละเอียด

15.คออักเสบเฉียบพลัน

16.คออักเสบเฉียบพลันที่มิได้ระบุรายละเอียด

17.ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน

18.ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน ที่มิได้ระบุรายละเอียด

19.การติดเชื้อทางเดินหายใจในส่วนบนแบบเฉียบพลันหลายแห่งพร้อมกัน ที่มิได้ระบุรายละเอียด

20.การติดเชื้อทางเดินหายใจในส่วนบนแบบเฉียบพลัน

21 เยื่อจมูกอักเสบจากการแพ้หรืออากาศเปลี่ยน

22.เยื่อจมูกอักเสบจากการแพ้ ที่มิได้ระบุรายละเอียด

23.กระเพาะอาหารอักเสบ ที่มิได้ระบุรายละเอียด

24.ปวดท้องช่วงบน

25.เนื้อเยื่ออักเสบ

26.ลมพิษ

27.ลมพิษ ที่มิได้ระบุรายละเอียด

28.ข้ออักเสบแบบอื่น

29.ข้ออักเสบหลายข้อ ที่มิได้ระบุรายละเอียด

30.ข้ออักเสบข้อเดียว ที่มิได้ระบุรายละเอียด

31.ข้อเสื่อมหลายข้อ

32.ข้อเสื่อมโดยทั่วไปปฐมภูมิ

33.ปวดหลังส่วนล่าง

34.กล้ามเนื้อเคล็ด

35.ปวดกล้ามเนื้อ

36.ปวดท้อง และปวดอุ้งเชิงกราน

37.อาการปวดท้องอื่นๆ และอาการปวดท้องที่ไม่ระบุรายละเอียด

38.วิงเวียน มึน

39.ไข้ไม่ทราบสาเหตุ

40.ไข้ ไม่ระบุชนิด

41.ปวดศรีษะ

42.โควิด 19

ข่าวที่เกี่ยวข้อง