รัฐบาลปรับเพิ่มเงินทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง เป็นร้อยละ 60 ไม่เกิน 180 วัน รับสูงสุด 9,000 บาทต่อเดือน

นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎกระทรวงแรงงานฉบับใหม่ ว่าด้วยการปรับอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของประกันสังคม ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว

สาระสำคัญคือ การเพิ่มอัตราเงินทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง จากเดิมร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 60 ของค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน โดยมีเพดานไม่เกิน 9,000 บาทต่อเดือน (เดิม 7,500 บาท) และจ่ายได้ไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน) คิดเป็นเงินสูงสุด 54,000 บาทต่อปี

สำหรับกรณี ลาออกเองหรือหมดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน โดยไม่เกิน 3 เดือนต่อปี (90 วัน) รวมเป็นเงินไม่เกิน 27,000 บาท

ในกรณีที่ผู้ประกันตนว่างงานหลายครั้งภายในปีเดียว เช่น ถูกเลิกจ้างแล้วลาออกภายหลัง ยังสามารถขอรับสิทธิทดแทนได้ตามรอบ แต่จะรวมวันสิทธิไม่เกิน 180 วันสำหรับเลิกจ้างและไม่เกิน 90 วันสำหรับลาออก

สำหรับเงื่อนไขสำคัญในการรับสิทธิ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนในช่วง 15 เดือนก่อนว่างงานว่างงานต่อเนื่องอย่างน้อย 8 วัน และต้องลงทะเบียนผู้ว่างงานภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดการจ้างงาน ผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th รายงานตัวผ่านระบบเดือนละครั้ง ต้องพร้อมทำงาน และไม่ปฏิเสธการฝึกอาชีพ ไม่ถูกเลิกจ้างเพราะกระทำผิดวินัยร้ายแรงและไม่ได้รับสิทธิซ้ำซ้อนกับเงินบำนาญชราภาพผู้มีสิทธิสามารถยื่นผ่านเว็บไซต์https://e-service.doe.go.th หรือที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุข) โดยการยื่นต้องดำเนินการ ภายใน 30 วันหลังเลิกจ้างหรือลาออก สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง